Queen of Anatahan จากเรื่องจริงสู่ภาพยนตร์

                ภาพยนตร์แทบจะทั้งหมดเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิง แต่ก็มีบางเรื่องที่เอาเค้าโครงมาจากเรื่องจริง แล้วมาดัดแปลงนิดหน่อยเพื่อความบันเทิงแต่ยังคงไว้ถึงเรื่องราวจริงๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ อย่างเช่นเรื่อง “Queen of Anatahan” ที่เกิดขึ้นจริงๆ ในช่วงโลกสงครามครั้งที่ 2 กับเรื่องราวของหญิงสาวชาวญี่ปุ่นชื่อว่า “Kazuko Higa” ที่อาศัยอยู่บนเกาะ Anatahan พร้อมกับเพื่อนร่วมชาติที่เป็นชายล้วนอีก 32 คนด้วยกัน แนะนำหนังใหม่

            1 หญิงสาว กับชายกลัดมันอีก 32 คน

Queen of Anatahan

                เรื่องราวของ Queen of Anatahan ในประวัติศาสตร์เล่าเรื่องของ Kazuko Higa ที่ตอนหลังได้กลายมาเป็นผู้ปกครองเกาะหลังจากสามีของเธอเสียชีวิต แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ปกครองแต่ในความเป็นจริงเธอคือเป้าหมายของบรรดาทหารญี่ปุ่นอีก 32 คนที่ต้องการได้ร่างกายของเธอมาครอบครอง เนื่องจากเธอเป็นหญิงเพียงคนเดียวบนเกาะ Anatahan ทำให้ท้ายที่สุดบรรดาทหารทั้งหมดต่างปลดปล่อยอารมณ์สัตว์ป่าออกมาอย่างเต็มที่ในการรบราฆ่าฟันกันเองเพียงเพื่อต้องการตัวผู้หญิงเพียงคนเดียว ทำให้มีทหารเสียชีวิตหลายนายด้วยกันจากเหตุการณ์ดังกล่าว

Queen of Anatahan

หนีออกจากเกาะเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว สู่ภาพยนตร์ Queen of Anatahan

                ปี 1950 ทหารญี่ปุ่นตระหนักแล้วว่าเรื่องราวทั้งหมดเกิดจาก Kazuko Higa พวกเขาจึงตัดสินใจจะฆ่าเธอเพื่อปิดเรื่องราว แต่ตัวของ Higa หลบหนีได้ และสุดท้ายได้รับการช่วยเหลือจากเรือของสหรัฐอเมริกาที่ลาดตระเวนอยู่บริเวณนั้น เธอถูกส่งกลับญี่ปุ่นอย่างปลอดภัยและได้รับยกย่องให้เป็น “Queen of Anatahan” (ราชินีแห่งอนาตาธาน) เรื่องราวของเธอถูก Joseph Von Strenberg นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เชิงสารคดีในปี 1953 โดยมีการดัดแปลงจากเนื้อหาจริงนิดหน่อย ซึ่งตัวของเขาเป็นคนเล่าเรื่องทั้งหมดผ่านทางนักแสดงที่ทำการ Casting โดยได้ทาง Akemi Negishi มารับบทเป็นนางเองของเรื่องในชื่อว่า “Keiko Fusukabe”

Queen of Anatahan

                สำหรับชีวิตของ Queen of Anatahan ตัวจริงอย่าง Kazuko Higa นั้น หลังจากที่เธอกลับมายังบ้านเกิดเธอได้ออกตระเวนถ่ายทอดเรื่องราวของเธอ จนกระทั่งไม่มีใครสนใจ เธอจึงตัดสินใจกลับใช้ชีวิตที่ Okinawa และเสียชีวิตลงอย่างสงบในช่วงต้นปี 1970 ทิ้งไว้เพียงตำนานของ Queen of Anatahan ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้เล่าเรียน, กล่าวขานกันต่อไป